สู่ชุมชนคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งมลภาวะที่เป็นพิษ และอีกหลายอย่างมากมาย ทำให้ประเทต่างๆ ทั่วโลกหันมาใส่ใจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้
ทาง PMCU ก็มีจุดหมายเช่นเดียวกัน จึงเดินหน้ามุ่งมั่นพัฒนาย่านสามย่าน สู่ Samyan Smart City นวัตกรรมสร้างสรรค์คุณค่า เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
วันเดียวเที่ยว ชิล ชิล ย่านสามย่านลุคใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงสู้ความล้ำสมัยเป็น Samyan Smart City ชุมชนนวัตกรรมที่เป็นเลิศแบบสมาร์ทๆ วันเดียวครบจบในที่เดียว เพลิดเพลินกับแหล่งอาร์ต และอิ่มอร่อยกับอาหารเมนูเลืศรสร้านระดับตำนาน พร้อมชมนวัตรกรรม Smart City ต่างในพื้นที่ทั้ง Mobility, Solar ,EV Charging และชมงานศิลปะที่ Art4C ศูนย์ศิลปะเพื่อชุมชน โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการเดินทางที่สะดวกสบายมีให้เลือกที่หลากหลาย ทั้งรถไฟฟ้า BTS สถานีสนามกีฬาฯ รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน และรถโดยสารประจำทาง รวมไปถึงรถส่วนตัวก็มาได้ไม่ยาก
โครงการสามย่านสมาร์ทซิตี้ มีการจัดระบบการเดินทางอัฉริยะ “Smart Mobility ในพื้นที่ เพื่อทำกิจกรรมในแต่ละวัน PMCU ให้ความสำคัญของการพัฒนาการเดินทางในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จึงได้สนับสนุนเทคโนโลยีการเดินทางใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เดินทางให้เข้าถึงทุกพื้นที่ด้วยการเดินทางที่หลากหลาย ลดรอยต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก (Seamless Transportation) และรองรับการเดินทางช่วงระยะเริ่มต้นและระยะสุดท้าย (First&Last Mile) การเดินทางแบบแบ่งปันกันใช้ (Sharing Vehicles) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเดินทางในพื้นที่ประกอบด้วย โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะครอบคลุมพื้นที่ สามารถเข้าถึงการเดินทางด้วยพลังงานสะอาดและแบ่งปันกัน (Mobility) อาทิ รถตุ๊กๆ พลังงานไฟฟ้า , Bike Charing, Haup Car , CU Pop Bus และ เตรียมพบกับ E-Scooter เร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV CHARGING STATION) ครอบคลุมทุกพื้นที่
วันนี้ (วันที่ 18 สิงหาคม 2565) เราเลือกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS มาลงสถานีสนามกีฬาฯแห่งชาติ แล้วนั่งรถตุ๊ก ตุ๊กๆ พลังงานไฟฟ้า ไปที่หมายต่างๆ แบบชิล ชิล โดยเริ่มจาก Art 4 C ศูนย์ศิลปะเพื่อชุมชน บริเวณตีนสะพานข้ามแยกสามย่าน ถนนพระราม 4 อยู่ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน MTR สถานีสามย่าน อาคารเก่าแกที่ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำเป็นโครงการสร้างสรรค์กิจกรรม เป็นพื้นที่งานบริการวิชาการทางศิลปะและวัฒนธรรมแก่สังคมภายใต้นโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชุมชนและกลุ่มคนโดยรอบมหาวิทยาลัย ได้แสดงผลงานโครงการเพื่อพัฒนาและฝึกทักษะของนิสิตทำงานกับชุมชนและสาธารณะได้จริง โดยชั้นที่ 1 จะเป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการงานศิลปะ บอกเล่าเรื่องราวที่เป็นความทรงจำที่น่าจดจำ เป็นสถานที่ที่เปิดให้ผลงานได้รับการชื่นชมและถูกรับฟัง เป็นโครงการโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ AIESEC CU โดยผลงานที่นำมาจัดแสดง คือผลงานที่ถูกส่งมาร่วมโครงการ และคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้มีความรู้ทางจิตวิเคราะห์และจิตวิทยาผสานกับศิลปะเป็นอย่างดี ส่วนกิจกรรมภายในงานนั้น ทุกท่านสามารถร่วมสร้างผลงานคอลลาจภายใต้ธีม ‘What’s your In the mo(me)nt’ ทำกิจกรรม Workshop ได้ด้วยตนเอง ระบายสีปูนปลาสเตอร์ย้อนวัยเด็ก ปลดปล่อยความรู้สึก 4 อารมณ์ผ่านตัวหนังสือและโพสท์อิท ร่วมถ่ายรูปกับคอนเซ็ป ‘Moving and Butterflies’ และร่วมกิจกรรมหมุนวงล้อลุ้นรับรางวัล ทางชมรม AIESEC จุฬา จึงอยากเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงาน Artspect Week ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ที่ทุกท่านสามารถเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ ภายใต้หัวข้อ ‘In the mo(me)nt’เข้าร่วมนิทรรศการได้ฟรี ไม่มีค่าใช่จ่าย และไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน
หลังจากทำกิจกรรมแล้ว อยากผ่อนคลาย ที่ชั้น 1 นี้ก็มีร้าน Bitescape ไว้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ ทานเครื่องดื่มอาหารอย่างสบายอารมณ์ โดยมีเครื่องดื่มไว้บริการ โดยเฉพาะกาแฟก็มีให้เลือกมากมายทั้งรสเข้ม กลมกล่อม แต่ที่อยากแนะนำก็คือ “กาแฟมะพร้าวน้ำหอม” หอมสดชื่นคลายง่วงจากน้ำมะพร้าวแท้ๆ เสริฟพร้อมของว่างไม่ว่าจะเป็น พายกรอบไส้กรอกอีสานซอสชิงโชยุ เค้กฟองน้ำล้างจาน ที่มองดูแล้วคล้ายฟองน้ำล้างจานจริงๆ แต่รสชาติอร่อยมาก ฟิชฟิงเกอร์+เฟรนช์ฟรายส์ โทสต์หมากรุก กุ้งทอดครีมสลัดแซ่บ และผลไม้รวมมิตร แต่ถ้าอยากทานอาหารที่นี่ก็มี ข้าวคลุกมันเนื้อไทยวากิว ข้าวสตูว์ไก่ ข้าวหมูเกาหลีบลูโกกิ ซีซาร์สลัด นักเก็ต+เฟรนซ์ฟรายส์ หมั่นโถวทูน่า แฮชบราวน์ทรัฟเฟิลซอส และข้าวคั่วกลิ้งไก่ไข่ออนเซ็น ให้เลือกทานตามใจชอบ
หลังลองทานกาแฟมะพร้าวน้ำหอม กับพายกรอบไส้กรอกอีสานซอสชิงโชยุ เค้กฟองน้ำล้างจาน แล้วก็เดินขึ้นไปที่ห้อง Gallery and Creative Learning Space ชั้น 3 โดยวันนี้เป็นการจัดแสดงนิทรรศการ “Colorful of BD(SM)" เป็นงานนิทรรศการธีสิสน้องๆ จากทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงถึงสีสันพันธนาการ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างการรับรู้เรื่องบทบาทความสัมพันธ์ของผู้พันธการและผู้ควบคุมวินัย (Bondage and Discipline) ผ่านการใช้สี Colorful ประกอบการให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ BDSM เนื่องจากสีแต่ละสีมีความหมายภายในตนเอง และสามารถสร้างการรับรู้ รวมถึงสะท้อนระดับความรุนแรงของพันธนาการและผู้ควบคุมวินัย (Bondage and Discipline) ในรสนิยมทางเพศ (BDSM) เกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจให้กับผู้คนได้ที่สามารถนำมาเพื่อทำให้เกิดภาพลักษณ์และมุมมองของความรุนแรงในรสนิยมทางเพศ (BDSM) ที่ดูมีความนุ่มนวลลงจากเดิม ให้รู้สึกถึงความน่ากลัวและความรุนแรงน้อยลง โดยใช้ทฤษฎีสีคู่ตรงข้ามมาสร้างสรรค์ในงาน อันแสดงให้เห็นถึงบทบาทของพันธนาการและผู้ควบคุมวินัย (Bondage and Discipline) ในรูปแบบนายกับบ่าว รวมถึงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงเรื่องราวของรสนิยมทางเพศ BDSM และมีการรับรู้ต่อมุมมอง ทัศนคติที่มีต่อรสนิยมทางเพศดังกล่าวได้มากขึ้น นิทรรศการ Colorful of BD(SM) นี้จะมีไปจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2565
ส่วนที่ Gallery and Creative Learning Space ชั้น 2 จัดแสดงนิทรรศการ “Climate is Oka" โดย ดร.ไพลิน ถาวรวิจิตร ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้ว เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานเทคนิคงานวาดมือเข้ากับการทำ Motion graphic และ ภาพเสมือนจริง (AR) ศิลปินในฐานะนักวิจัยพยายามค้นหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ป่าและพื้นที่เมือง ความแตกต่างขององค์ประกอบสภาพแวดล้อม ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสภาพพื้นที่ การกัดกร่อน แห้งแล้ง โดดเดี่ยวของพื้นที่สีเขียวที่ค่อยๆหมดไป ผ่านผลงานวาดอันเปลี่ยวเหงา สะท้อนโลกที่กำลังค่อย ๆ ล่มสลายจากภาวะโลกร้อน ผู้ชมจะได้บรรยากาศดำดิ่งของความเงียบงัน ทว่าบางครั้งกลับคุกรุ่น กัดกินจิตใจ สร้างอารมณ์ที่แปรปรวนดั่งสภาพอากาศ ตั้งคำถามต่อโลกใบนี้ การปกป้องหรือการทำลายผ่านงานทุกชิ้นอย่างแยบยล
ชมนิทรรศการงานศิลปะจนซึมซับ ก็เดินไปที่โครงการ Block 28 ที่มีความโมเดิลทันสมัยและลานจอดรถตลาดสามย่าน เพื่อชมสถานีชาร์จรถไฟฟ้าและสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอร์รี่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นการประหยัดพลังงาน “EV Policy” ตามแนวคิดด้าน Smart Energy ที่ PMCU ได้ดำเนินโครงการสามย่านสมาร์ทซิตี้ ให้สอดคล้องกับภาครัฐที่มีเป้าหมายเพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (net-zero) โดยมีนโยบายส่งเสริมการใช้ Non-fuel Vehicle เพื่อลดการปลอ่ยมลพิษจากยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 และมลภาวะทางอากาศภายในพื้นที่ ตลอดจนการสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยรองรับและส่งเสริมให้ใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ในพื้นที่มากขึ้น โดยทาง PMCU มีนโยบายต่างๆ ประกอบด้วย การเปลี่ยนรถโดยสารภายในพื้นที่ให้ใช้พลังงานไฟฟ้า 100%, การส่งเสริมการเดินทางระบบ Sharing ด้วยพลังงานสะอาด, การเพิ่มจำนวนสถานชาร์จรถไฟฟ้า 200 หัวจ่าย ภายในปี พ.ศ.2567 และตอนนี้จุฬาฯ เริ่มทยอยเปลี่ยนรถยนต์หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเป็น EV โดยตั้งเป้าครบ 100% ภายในปี พ.ศ.2567 พร้อมด้วยการมอบส่วนลดค่าจอดรถรายเดือนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ประเภท Pure Electric Vihicle (PEV) รวมทั้งเพิ่มสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอร์รี่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
พร้อมชมการใช้พลังงานสะอาด Solar Roof ในโครงการ “ PMCU Solar Carpark” ซึ่งเป็นต้นแบบสมาร์ทคอมมูนิตี้ใช้พลังงานสะอาด ลดต้นทุน รักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเมืองน่าอยู่ โดยได้ปรับปรุงพื้นที่ลานจอดรถเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการบริหารการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมกับหลายหน่วยงาน
ปิดท้ายด้วยการแวะตลาดสามย่าน ตลาดสดที่มีการปรับปรุงให้มีความทันสมัย ที่ยังคงเอกลักษณ์ที่เป็นตำนานความเป็นตลาดสดที่มีชื่อเสียงไว้ เป็นตัวอย่างในฐานะตลาดที่ดีตอบสนองชุมชนโดยรอบได้ครบถ้วนมายาวนาน โดดเด่นด้วยมาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ความสะอาด และสุขลักษณะที่ดี รวมถึงรักษาวิถีชีวิตของชุมชน บริเวณใกล้เคียงที่เป็นความผูกพันของนิสิตและประชาคมโดยรอบให้คงอยู่ โดยชั้นล่างจำหน่ายพืช ผัก ผลไม้ อาหารทะเล และเครื่องปรุงที่ใช้ประกอบอาหารหลากหลาย ส่วนบนชั้น 2 เป็นศูนย์อาหารที่รวบรวมร้านอาหารเก่าแก่ และเป็นที่นิยมในหมู่นิสิต นักศึกษา และคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารชื่อดังอย่าง สะเต็กอ้วนผอม, ทูเดย์สะเต็ก, ร้านอาหารทะเล ร้านปิ้งย่างอย่าง ย่างเนย และร้านอาหารอื่นๆ อีกมายมาย
การเดินทางท่องเที่ยวในวันนี้ก็จบลงอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทั้งได้เยี่ยมชมโครงการนวัตรกรรมของSAMYAN SMART CITY ต่างๆ และเพลิดเพลินกับแหล่งศิลปะเพื่อชุมชน รวมถึงตลาดสามย่านที่เป็นตำนาน วันนี้ถือว่าคุ้มค่าคุ้มเวลา มาที่เดียวครบจบ
ท่านที่สนใจเที่ยวสามย่านมิติใหม่ @ Samyan Smart City สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pmcu.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น