วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ชวนเที่ยวงานโครงการหลวง 2567 “Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง

ชวนเที่ยวงานโครงการหลวง 2567

“Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง

ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

      มูลนิธิโครงการหลวงจัดงาน “โครงการหลวง 2567” พร้อมเชิญชวนประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในโอกาสที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ และงาน “โครงการหลวง 2567” ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567 โดยการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “จากการพัฒนาทางเลือกมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาทางเลือก เพื่อรับมือการท้าทายทุกประเด็นของโลก” และ งานโครงการหลวง 2567 “Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง”

      โดยทั้งสองกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว องค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโครงการหลวง เผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระบรมราโชบาย สืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการก่อตั้งโครงการหลวงจนเกิดผลสำเร็จ แก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด การประชุมวิชาการนานาชาตินี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ถึง 4 ธันวาคม 2567 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำผลสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงด้วยรูปแบบการพัฒนาทางเลือกแบบโครงการหลวง เผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ และเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง รวมทั้งใช้โอกาสในการประสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงในประเทศไทย และนานาประเทศ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนในการสร้างพลังของการพัฒนาทางเลือกเพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและนานาประเทศสามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศ ตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้ว 29 ประเทศ โดย นางกาดา ฟาติ วาลี ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา (Ms. Ghada Fathi Waly, UNODC Executive Director) ได้ให้เกียรติเดินทางมาร่วมประชุมและปาฐกถามุมมองของ UNODC กับรูปแบบการพัฒนาทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจาก FAO ประเทศไทย รวมทั้ง เกษตรกรจากพื้นที่พัฒนาของโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ประเทศเมียนมา สาธารณรัฐประชาชนลาว โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาในประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมอีกกว่า 300 คน

       ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดจะได้เดินทางไปเรียนรู้ในพื้นที่ตัวอย่างการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงของโครงการหลวงและการขยายผลผลสำเร็จการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางโครงการหลวง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งแรกในรัชสมัยกับปีที่ 8 ของการพัฒนา สามารถกำจัดฝิ่นบนพื้นที่ฝิ่นผืนสุดท้ายของประเทศไทย คนในชุมชนได้รับการพัฒนาในทุกมิติ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ต้นแบบการพลิกฟื้นจากเขาหัวโล้น สู่พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวที่สำคัญของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่การดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ในการขยายผลสำเร็จการดำเนินงานแบบโครงการหลวง คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนไม้มีค่า ดูแลรักษา สร้างรายได้ คนในชุมชนป่าแป๋มีการประกอบอาชีพที่สมดุลและเกื้อหนุนการอยู่ร่วมกันป่า และสามารถต่อยอดป่าเมี่ยงและป่าชุมชนไปสู่การสร้างรายได้ และการสร้างคาร์บอนเครดิต การันตีโดยรางวัลเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประจำปี 2564 ประเภทสัมฤทธิ์ผล ประชาชนมีส่วนร่วม

      ในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกันนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังมีจัดงานโครงการหลวง 2567 โดยปีนี้ได้ขยายเวลาขึ้นเป็น 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 10 ธันวาคม 2567 ภายใต้แนวคิด “Hats on Hills ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” ผลการพัฒนาพื้นที่สูงด้วยพระบารมีปกเกล้า ชุมชนที่สูงจึงมีชีวิตใหม่ที่มีสุข ร่มเย็น ขุนเขาฟื้นความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของประเทศ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของทั้งสองรัชกาล สร้างประโยชน์สุขทั้งแก่ชาวเขา ชาวเรา และชาวโลก กิจกรรมที่นำมาจัดแสดงภายในงานมีทั้งนิทรรศการแสดงผลสัมฤทธิ์การพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย : สู่ความท้าทายโลก พร้อมการจัดตกแต่ง ประดับประดาพื้นที่อย่างสวยงามด้วยพืชผลที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา สอดแทรกด้วยสาระความรู้ ความสนุกเพลิดเพลิน ผ่านกิจกรรมฐานเรียนรู้ ที่ได้รับการสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมศิลปะการวาดภาพด้วยสีน้ำ โดย ศิลปินวาดภาพจิตอาสา ผู้เขาชมงานจะได้สนุก เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมประดิษฐ์ประดอยของที่ระลึกด้วยฝีมือของตนเอง

      สำหรับผลิตผล ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เกิดจากคุณูปการของโครงการหลวงต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้ส่งตรงจากดอยมามากกว่า 800 รายการ และปีนี้โครงการหลวงยังจัดมุมทดสอบผลิตผลใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ชิมและให้ความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์ และการส่งเสริมแก่เกษตรกร ผลิตผลใหม่เหล่านี้ ได้แก่ แตงกวามินิบอล พริกหวานรับประทานสด รวมทั้งผัก และผลไม้พระราชทานชนิดต่างๆ

        ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจากชาวดอย  อิ่มอร่อยไปกับอาหารหลากหลายเมนู ดูนิทรรศการ ชมฐานเรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา ในงานโครงการหลวง 2567 วันที่  1-10  ธันวาคม  2567  ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่



 

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ป่อเต็กตึ๊งเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาส่งมอบไออุ่น แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ชาวเชียงราย ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร

ป่อเต็กตึ๊งเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาส่งมอบไออุ่น

แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค

ให้ชาวเชียงราย ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร


         มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิฯ ห่วงใยผู้ประสบภัยหนาวในถิ่นทุรกันดาร มอบหมายให้ นายชุมพล บุญภักดี ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ พร้อมเจ้าหน้าที่แผนกสาธารณภัย, แผนกบรรเทาสาธารณภัย, แผนกอาสาสมัคร, แผนกสื่อสารองค์กรไทย ลงพื้นที่แจกจ่ายผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค อาทิ ผ้าห่มกันหนาว, ข้าวสาร, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ปลากระป๋อง,  น้ำปลา, น้ำตาล, น้ำมันพืช, ขนม และถุงผ้าบรรจุสิ่งของ ให้แก่ผู้ประสบภัยหนาวในจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย อ.เมือง, อ.แม่สาย, อ.แม่จัน, อ.แม่สรวย, อ.พาน  รวม 3,300 ชุด คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,145,000 บาท (สองล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยมีประธานฯและคณะกรรมการมูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์เชียงราย มูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์แม่จัน มูลนิธิเมืองพานสงเคราะห์ มูลนิธิกวงเม้งแม่สาย พร้อมหน่วยงานภาครัฐ และผู้นำท้องถิ่นร่วมในพิธีแจกจ่าย ในระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567


          โครงการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยหนาว เป็นโครงการที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งดำเนินการต่อเนื่องมาไม่ต่ำกว่า 60 ปี โดยตลอดระยะเวลากว่า 114 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาการดำเนินงานอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ต่อไป


          มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค สละแรงกาย แรงใจ  สมทบทุน ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ขอบุญบารมีหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญตลอดไป

ติดต่อสอบถาม ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง www.facebook.com/atpohtecktung

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ผู้ช่วย รมว.ท่องเที่ยวฯ ประชุมเตรียมความพร้อมสู่ปีแห่งการท่องเที่ยวและกีฬา Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025

ผู้ช่วย รมว.ท่องเที่ยวฯ ประชุมเตรียมความพร้อมสู่ปีแห่งการท่องเที่ยวและกีฬา Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025



        นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการประชุมพิจารณาแนวทางกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ในปี 2568 ภายใต้โครงการ "AMAZING THAILAND GRAND TOURISM AND SPORTS YEAR 2025"  โดยมี นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารจากสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ ผู้บริหารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสุพรรณหงส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567



       การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือในเบื้องต้นในการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยตลอดทั้งปี (All year round) ภายใต้ข้อริเริ่ม Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025 อันเป็นการส่งเสริมปีแห่งการท่องเที่ยวและมหกรรมกีฬาที่กำลังจะมาถึง โดยการหารือเน้นไปที่การสร้างการรับรู้ร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน การจัดทำปฏิทินกิจกรรมและเทศกาลสำคัญระดับประเทศ การวางแผนการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และการเตรียมความพร้อมด้านซัพพลายที่ครบวงจรตลอดการเดินทางของนักท่องเที่ยว



       ในที่ประชุม นายจักรพล ได้เน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือกับผู้ประกอบการและพันธมิตรทางธุรกิจในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน โดยมุ่งสร้างโอกาสในการสนับสนุนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก พร้อมรับฟังข้อเสนอและความต้องการของภาคเอกชนเพื่อให้ภาครัฐสามารถสนับสนุนได้อย่างตรงจุด



      ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดมาตรการเพื่อผลักดันเป้าหมายสำคัญในปี 2568 ออกเป็น 4 มาตรการ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมและเทศกาล (Events & Festivals) 2) การอำนวยความสะดวกในการเข้าประเทศและการเดินทางภายในประเทศ 3) การสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวของไทย และ 4) มาตรการส่งเสริมการตลาดและสิทธิประโยชน์ (Tourism Promotion & Travel Incentives)



      การเตรียมความพร้อมในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่ปีแห่งการท่องเที่ยวและกีฬา Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025 ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในระดับสากล

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

“หนาวนี้ ให้ป่อเต็กตึ๊งดูแล..” มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ส่งมอบไออุ่นจากผู้มีจิตศรัทธา ลงพื้นที่แจกจ่ายผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยหนาวในถิ่นทุรกันดาร

“หนาวนี้ ให้ป่อเต็กตึ๊งดูแล..”

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ส่งมอบไออุ่นจากผู้มีจิตศรัทธา 

ลงพื้นที่แจกจ่ายผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค 

บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยหนาวในถิ่นทุรกันดาร 4 ภาค 43 จังหวัด

        ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2567 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิฯ ห่วงใยผู้ประสบภัยหนาวในถิ่นทุรกันดาร มอบหมายให้ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ จัดทีมสังคมสงเคราะห์ นำโดย  นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย และนางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน ลงพื้นที่แจกจ่ายผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบ “ภัยหนาว” ในถิ่นทุรกันดาร ครอบคลุมพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ รวมการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวทั้งสิ้น 4 ภาค 43 จังหวัด ผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภครวม 51,500 ชุด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 34,637,500 บาท (สามสิบสี่ล้านหกแสนสามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยมูลนิธิฯ / สมาคมจีนประจำจังหวัดต่างๆ เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี

           นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้จัดหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมแพทย์อาสาฯ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครลงพื้นที่ให้บริการประชาชนในบางพื้นที่ฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา คัดกรองเบาหวาน ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น บริการตัดผม ฯลฯ โดยมูลนิธิฯ ได้เริ่มออกเดินช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวภาคเหนือ และอีสาน ในระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567

          โดยวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำทีมลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่อำเภอสารภี อำเภอหางดง อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านธิ และอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มอบผ้าห่มกันหนาว พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค อาทิ ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำมันพืช น้ำปลา ฯลฯ บรรจุลงกระเป๋าผ้า รวมจำนวน 1,950 ชุด โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยมูลนิธิฯ / สมาคมจีนประจำจังหวัดต่างๆ เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี


           โครงการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยหนาว เป็นโครงการที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งดำเนินการต่อเนื่องมาไม่ต่ำกว่า 60 ปี โดยตลอดระยะเวลากว่า 114 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่างๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาการดำเนินงานอีกในหลายๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ต่อไป

           มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค สละแรงกาย แรงใจ สมทบทุน ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ขอบุญบารมีหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญตลอดไป

           ติดต่อสอบถาม ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง www.facebook.com/atpohtecktung

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน มอบจักรยานให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ชนบท และมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการ ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน 

มอบจักรยานให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ชนบท 

และมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการ ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

        มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ  เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา กรรมการปฏิคม นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมลงพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ  (จังหวัดที่ 15 ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 23 ครัวเรือน พร้อมมอบจักรยานในโครงการ จักรยานเพื่อน้องสัญจร จำนวน 50 คัน ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน จำนวน 5 แห่ง เพื่อให้นักเรียนที่ประสบปัญหาในการเดินทางได้ยืมเรียน รวมถึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าพาหนะแก่ผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเสริมสร้างให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย เรียนรู้กฎจราจร เรียนรู้การแบ่งปัน และดูแลรักษาสาธารณสมบัติร่วมกัน นอกจากนี้มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยังได้มอบรถเข็นวีลแชร์แก่คนพิการ จำนวน 10 คัน รวมมูลค่าการดำเนินการช่วยเหลือชาวบึงกาฬในครั้งนี้ทั้งสิ้น 647,630 บาท (หกแสนสี่หมื่นเจ็ดพันหกร้อยสามสิบบาทถ้วน) โดยมี นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ  พร้อมด้วย นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน เป็นประธานร่วมในพิธี คณะมูลนิธิสว่างศรีวิไลธรรมสถาน จังหวัดบึงกาฬ เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี  รวมทั้ง ประชาชน เยาวชน และผู้แทนจากสถาบันการศึกษา เป็นผู้รับมอบ ณ บริเวณหอประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

       โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม ซึ่งปัจจุบันทางมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ลงพื้นที่มอบอุปกรณ์ฯ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้วทั้งสิ้น 15 จังหวัด 360 ครัวเรือน รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 7,913,654 บาท (เจ็ดล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นสามพันหกร้อยห้าสิบสี่บาทถ้วน)


         ตลอดระยะเวลากว่า 114 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ  www.facebook.com/pohtecktungofficial

“มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”

#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วน ป่อเต็กตึ๊ง1418

#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

กิจกรรม Amazing Thailand Press Conference 2024

กิจกรรม Amazing Thailand Press Conference 2024 

ในงาน World Travel Market (WTM) 2024

      นายสรวงศ์  เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานกิจกรรม Amazing Thailand Press Conference 2024 ในงาน World Travel Market (WTM) 2024 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยผู้ประกอบการ และผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตรทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 100 ราย รวมทั้งมีสื่อมวลชนเข้าร่วม  เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา


เพื่อจุดพลังการท่องเที่ยวไทยในปี 2568 ด้วย “Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025” ภายใต้ IGNITE Thailand’s Tourism โดยมุ่งยกระดับมาตรการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ส่งเสริมเมืองน่าเที่ยว (Hidden Gem Cities) และเผยแพร่เสน่ห์ไทย ผสานกับแนวคิด 5 Must Do in Thailand เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความหมาย พร้อมนำพาการท่องเที่ยวไทยทะยานสร้างรายได้ท่องเที่ยวสูงสุดที่ 3.4 ล้านล้านบาท

       นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัล Responsible Thailand Awards 2024 จำนวน 5 สาขารางวัล ตอกย้ำความพยายามในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง


        พร้อมกันนี้ ได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา “Your Stories Never End” และ “Green Side Story” ซึ่งเป็นแคมเปญสื่อสารแนวคิดการท่องเที่ยวในต่างประเทศของ ททท. สำหรับปี 2568 เป็นครั้งแรกในงาน WTM 2024 อีกด้วย

ททท.เกาหลี ร่วมกับ ททท.สำนักงานเชียงราย เสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวเชียงราย ในงาน "AMAZING THAILAND & KOREAGOLF CONNECTION IN CHIANG RAI 2024"

ททท.เกาหลี ร่วมกับ ททท.สำนักงานเชียงราย เสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวเชียงราย 

ในงาน "AMAZING THAILAND & KOREAGOLF CONNECTION IN CHIANG RAI 2024"



     การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเกาหลี ภูมิภาคเอเซียตะวันออก  ร่วมกับ ททท.สำนักงานเชียงราย นำโดย นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเชียงราย ผนึกความร่วมมือกับนายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ 17 จังหวัด นำโดย คุณนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมฯ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชียงราย จัดงาน "AMAZING THAILAND & KOREAGOLF CONNECTION IN CHIANG RAI 2024" นำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวเชียงราย ทั้ง ธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรม ท่องเที่ยวชุมชน และ กอล์ฟ  รวมถึงกิจกรรมตลอดทั้งปี ให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวจากเกาหลีบรรจุเชียงรายในโปรแกรมนำเที่ยวเสนอขายในตลาดเกาหลีในไฮซีซั่นนี้ ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะเฮอริเทจ เชียงราย แอนด์คอนเวนชั่น เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567



         โดยภายในงานจัดให้มีการจัดเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการนำๅเที่ยวเกาหลี 22 ราย กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชียงรายและเชียงใหม่ 40 ราย นับเป็นการรุกการทำตลาดต่างประเทศให้เชียงรายมีสัดส่วนตลาดต่างประเทศมากขึ้นอนาคตอันใกล้



         นอกจากนี้ ททท. ยังจะรุกตลาดจีน และเอเซีย ด้วย Mega Agents Fam Trip 250 บริษัทท่องเที่ยวจาก 20 กว่าประเทศมาเชียงใหม่ เชียงราย และภาคเหนือในเดือนธันวาคม 2567 นี้

ททท. สำนักงานเชียงราย เชิญชวนนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวเชียงราย และพะเยา ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2568

ททท. สำนักงานเชียงราย เชิญชวนนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวเชียงราย และพะเยา ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2568  และร่วมสืบสานงานประเพณีสงกรานต์ ปี...