วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผนึกกำลัง ลงนามบันทึกความเข้าใจ [MOU] ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อยกระดับการบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยระดับประเทศ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ผนึกกำลัง ลงนามบันทึกความเข้าใจ [MOU] ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อยกระดับการบูรณาการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยระดับประเทศ



         มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการฯ ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดย นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ลงนามบันทึกความเข้าใจ [MOU]  ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผนึกกำลังทั้งทางด้านวิชาการ และการปฏิบัติการ อันเป็นการบูรณาการการจัดการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่และ/หรืออาสาสมัครมูลนิธิฯ และเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยให้สามารถบริหารจัดการและปฏิบัติตอบโต้เหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะผู้กรรมการและผู้บริหารของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 2 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ เมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม 2564 




           นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการบูรณาการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศ ได้มุ่งส่งเสริมการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย ทุกระดับ และทุกรูปแบบ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเข้าใจบทบาทภารกิจ ภายใต้แผนและกฎหมายด้านการจัดการสาธารณภัย รวมถึงเสริมสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถประสานปฏิบัติและบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉินได้อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการจัดการสาธารณภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของภาครัฐ และนำไปสู่การสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพ ขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่และ/หรืออาสาสมัครมูลนิธิฯ และเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยให้สามารถบริหารจัดการและปฏิบัติตอบโต้เหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น





          ด้านนายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือกันในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณท่านอธิบดี และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ที่ให้โอกาสและให้เกียรติมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ได้เป็นอีกหนึ่งพลัง ร่วมกับส่วนราชการในงานด้านบรรเทาสาธารณภัย ช่วยชีวิตและรักษาชีวิตประชาชนที่ประสบภัย ความร่วมมือนี้จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการจัดการกับภัยต่างๆ ของชาติได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 



           ที่ผ่านมา  มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้มีการประสานความร่วมมือกันทั้งด้านการปฏิบัติการและการพัฒนาด้านศักยภาพเป็นอย่างดีเรื่อยมา ด้วยสาธารณภัยในปัจจุบันมีความรุนแรงและสร้างความเสียหายมากขึ้น   การลงนามบันทึกความเข้าใจ [MOU] ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำความร่วมมือ และเพิ่มขีดความสามารถ และเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบ  เพื่อให้ภารกิจด้านการจัดการสาธารณภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม

ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต 

แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง 1418

ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน










วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

สทท.แถลงผลการศึกษาดัชนีความเชื่อมั่นฯ ทรงตัวเร่งสร้าง Tourism Labor Bank รักษาการจ้างงานและพัฒนาคนท่องเที่ยวรับโอกาสหลังวิกฤต

สทท.แถลงผลการศึกษาดัชนีความเชื่อมั่นฯ ทรงตัวเร่งสร้าง Tourism Labor Bank รักษาการจ้างงานและพัฒนาคนท่องเที่ยวรับโอกาสหลังวิกฤต

       การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.) แถลงผลการศึกษาดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยไตรมาสประจำไตรมาส 4/2563 ซึ่งผลการสำรวจพบว่าผู้ประกอบส่วนใหญ่ให้คะแนนใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีดัชนีเท่ากับ 62 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้วที่ 60 เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับอานิสงค์จากโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวของภาครัฐ เช่น โครงการกำลังใจ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการคนละครึ่ง ที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว การซื้อสินค้าของฝากและร้านอาหารได้พอสมควร อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ไตรมาสที่ 1/2564 เท่ากับ 53 ซึ่งถือว่าต่ำมากผิดปกติ โดยเกิดจากความกังวลของผู้ประกอบการจากการระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ 

        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า Covid-19 ทำให้แรงงานภาคการท่องเที่ยวจำนวนกว่า 4 ล้านคน ได้รับผลกระทบทั้งจากการถูกพักงานชั่วคราวและถูกลดเงินเดือน ซึ่งการแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่นั้นอาจจะทำให้คนท่องเที่ยวตกงานมากกว่า 2 ล้านคน เนื่องจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่มีทุนพอที่จะรักษาการจ้างงานได้อีกต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจาก สทท. คาดการณ์ว่า เมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 อย่างแพร่หลายแล้ว การท่องเที่ยวจะสามารถกลับมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวอาจจะปิดกิจการไปแล้วเป็นจำนวนมาก ทำให้เสียโอกาสในการที่จะให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นกลไกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ


      สทท. จึงเล็งเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้าง Tourism Labor Bank หรือ ธนาคารแรงงานภาคท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือผู้ถูกพักงานสามารถสมัครเข้ามาเพื่อหาโอกาสในการทำงาน และผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเลือกจ้างผู้ที่มีทักษะตรงกับความต้องการ โดยแรงงานที่ยังเหลืออยู่จะได้รับการแนะนำเพื่อนำไปพัฒนาทักษะ Up-skill / Reskill และเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆ


ซึ่ง สทท. ได้เริ่มมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆของรัฐ ให้เข้ามาสนับสนุนงบประมาณสำหรับ Tourism Labor Bank เช่น การ Co-Pay สำหรับการจ้างงานของภาคเอกชน การให้ภาครัฐจ้างแรงงานที่มีประสบการณ์และทักษะไปช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เช่น การนำเชฟจากโรงแรม 5 ดาว ไปช่วยสร้างเมนูอาหารให้กับชุมชน  การพัฒนาไกด์ให้เป็น Influencer ไปเล่าเรื่องแหล่งท่องเที่ยว การนำคนจากบริษัทเที่ยวไปสร้างเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ รวมถึงการ Workshop คน 3 วัย ให้สามารถสร้างสินค้าและเนื้อหา ที่น่าสนใจและไปเผยแพร่ใน Social Media และ Platform ในภาษาต่างๆ  เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่แรกที่คนจากทั่วโลกจะนึกถึงและต้องการกลับมาเยือนเมื่อวิกฤต Covid-19 ผ่านพ้นไป

        นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี รองประธาน สทท. เน้นว่าเราจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยวเพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินกิจการไว้ เพราะยังมีบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอยู่มากกว่า 3 ล้านคน และเมื่อผ่านพ้นวิกฤตไปแล้ว การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่จะเข้ามา ซึ่งทั้งผู้ประกอบการและพนักงานจะต้องปรับตัวและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองให้ได้เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างและกระจายรายได้ให้กับประเทศ โดยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงสภาวะปกติในอีกสองปีข้างหน้า ดังนั้น สทท. จึงขอเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยประคองผู้ประกอบการให้ผ่านวิกฤตไปให้ได้ด้วยมาตรการเยียวยาต่างๆ ทั้งการช่วยลดค่าใช้จ่าย​ เพิ่มสภาพคล่อง​ และเสริมรายได้ เช่น มาตรการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 2 ปี​ มาตรฐานเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ และ​ มาตรการ Co-pay หรือการที่ภาครัฐช่วยจ่ายค่าจ้างสำหรับผู้ประกอบการในระบบประกันสังคมที่ยังคงจ้างงานอยู่เป็นเวลา 1 ปี เป็นต้น

      นายสุทธิพงศ์ เผื่อนพิภพ รองประธาน สทท. กล่าวเสริมว่าหลังจากที่ประเทศไทยเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้แล้ว มาตรการแรกที่ต้องทำคือการกระตุ้นไทยเที่ยวไทย ​เช่น​ โครงการเราเที่ยวด้วยกันที่ครอบคลุมสินค้าการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ การกระตุ้นการเดินทางและจัดประชุมสัมมนาของภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาบันการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพรีเมียมเชิงสร้างสรรค์​ รวมถึงการจัดให้มีคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนไทยเที่ยวไทยอย่างจริงจัง โดยแผนงานต่างๆนั้นต้องเริ่มทำตั้งแต่ช่วงนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความพร้อม เกิดสินค้าทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ยกระดับมาตรฐานและมีศักยภาพพอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในระยะต่อไป 


วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกับมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัย 14 จังหวัดภาคใต้ ซับน้ำตาผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ปัตตานี

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกับมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัย 14 จังหวัดภาคใต้ ซับน้ำตาผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ปัตตานี


        ตามที่มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดปัตตานี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ มอบหมายให้ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำโดย นายพินัย ศรีพนาสณฑ์ ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ประสานมูลนิธิสงเคราะห์ 14 จังหวัดภาคใต้ ในการมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจศพแก่ญาติผู้เสียชีวิต จำนวน 2 รายๆ ละ 20,000 บาท


 พร้อมมอบถุงยังชีพบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 2,000 ชุด แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมือง อ.หนองจิก และ อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี รวมงบประมาณช่วยเหลือเป็นเงิน 740,000 บาท (เจ็ดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) โดยมี มูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัย 14 จังหวัดภาคใต้ และมูลนิธิร่วมบำเพ็ญการกุศลจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ประสานงานและออกแจกจ่ายถุงยังชีพเมื่อวันที่ 16-18  มกราคม 64 ที่ผ่านมา 




ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต 

แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418

ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน






วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

ทีเส็บ จับมือ 13 สมาคม เตรียมกระตุ้นไมซ์ให้พ้นภัยโควิด 19

ทีเส็บ จับมือ 13 สมาคม เตรียมกระตุ้นไมซ์ให้พ้นภัยโควิด 19

ทีเส็บจัดประชุมร่วมกับ 13 องค์กรไมซ์เอกชนมีมติร่วมกันเร่งกระตุ้นไมซ์ในประเทศช่วยผู้ประกอบการและชุมชน เผยสรุปการดำเนินงาน 6 ด้าน พร้อมต่อยอดโครงการประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่า และสนับสนุนการฝึกอบรมรองรับไมซ์ในอนาคต

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ และภาคีภาคเอกชน 13 สมาคม ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (ADT) สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) (TICA) สมาคมการแสดงสินค้าไทย (TEA) สมาคมโรงแรมไทย (THA) สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA) สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์ธุรกิจบันเทิงไทย (TECNA) สมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA) เครือข่ายจัดตั้งสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (CAPT) สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA) สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) และสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA)  เร่งร่วมหารือแสวงหามาตรการที่เหมาะสมในการปกป้องอุตสาหกรรมไมซ์ในระยะเฉพาะหน้า และเตรียมพร้อมแผนงานในระยะยาว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในรอบใหม่นี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา

             ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะให้ความสำคัญการกระตุ้นให้เกิดการจัดกิจกรรมไมซ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยยึดมาตรฐานความปลอดภัยสาธารณสุข และส่งเสริมให้เกิดธุรกิจในพื้นที่ต่าง ๆ กระจายสู่ทั่วประเทศ

         นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ กล่าวว่า หนึ่งในโครงการหลักที่จะดำเนินงาน คือ ต่อยอดโครงการประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่าสนับสนุนงบประมาณกระตุ้นการจัดกิจกรรมไมซ์และการเดินทางในประเทศ โดยใช้ไมซ์เป็นเครื่องมือช่วยบรรเทาปัญหาของประเทศ ที่ทีเส็บและภาคีร่วมกันทำเมื่อปีที่แล้ว และประสบความสำเร็จอย่างดีมาก กล่าวคือมีองค์กรภาคเอกชนจัดกิจกรรมไมซ์มากถึง 1,049 กลุ่ม มีการเดินทางของประชาชน 62,000 คนไปในกว่า 50 จังหวัด ซึ่งที่ผ่านมาภายในเวลาสั้น ๆ ความร่วมมือของบริษัท ห้างร้าน ช่วยกระจายเม็ดเงินไปไม่นอยกว่า 130 ล้านบาทไปในทั่วภูมิภาค ทำให้เรามั่นใจว่าโครงการนี้จะไปต่อได้ และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยเบื้องต้นจะปรับใช้แผนงบประมาณภายในสำหรับโครงการนี้ประมาณ 20 ล้านบาท

ผลสรุปของการประชุมร่วม แบ่งการดำเนินงานเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย

        1. การส่งเสริมตลาดเพื่อผู้ประกอบการ กระตุ้นการจัดประชุมสัมมนาในประเทศ สานต่อโครงการประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่าต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา สนับสนุนงบประมาณขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ปรับเกณฑ์ขอรับการสนับสนุนให้เข้าถึงง่าย สะดวกรวดเร็วขึ้น และศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ ของรัฐ ทั้งยังคงสนับสนุนผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมสถานที่ตามมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัย (Safety & Hygiene) และการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะกลุ่ม 

2. กระตุ้นกิจกรรมในภูมิภาคเพื่อฟื้นฟูท้องถิ่น โดยให้เอกชนจัดทำแผนงานกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยกิจกรรมไมซ์ประเภทต่างๆ และนำเสนอของบประมาณผ่านทีเส็บ เน้นให้ภาคเอกชนบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยแบ่งการจัดทำโครงการเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มการแสดงสินค้า (Exhibition) กระจายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การจัดอีเวนต์และเทศกาลระดับพื้นที่ โดยเน้นกระตุ้นในพื้นที่ที่มีความพร้อมในการจัดงาน การจัดอีเวนต์และเทศกาลขนาดใหญ่ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศที่ต่อเนื่องมีระยะเวลาหลายเดือน เพื่อส่งเสริมการเดินทางข้ามภูมิภาค 

3. การเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยสาธารณสุขของงาน โดยทีเส็บจะเน้นประชาสัมพันธ์เรื่องการจัดงานอย่างปลอดภัย โดยส่งเสริมมาตรฐานและความปลอดภัย (Safety & Hygiene) ในการจัดงานและสถานที่จัดงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักเดินทางไมซ์และสาธารณชนในวงกว้าง ขณะเดียวกันจะผลักดันให้มีการกำหนดแผนฟื้นฟูร่วมกัน เช่น การพัฒนาต่อยอดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมไมซ์ทุกประเภท

4. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมโดยหน่วยราชการ โดยผลักดันให้มีนโยบายกระตุ้นการจัดประชุมสัมมนาของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะการจัดงานในวันธรรมดา เพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นและภูมิภาค พร้อมมีการติดตามผลเพื่อการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐเสนอตัวเป็นเจ้าภาพดึงงานและการประชุมระดับนานาชาติที่มีความสำคัญเข้ามาจัดในประเทศไทย 

       5. ดึงงานไมซ์ในอนาคตเข้าสู่ประเทศไทย เช่น งานประชุมนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางการประชุมนานาชาติของไทย ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายตัวแทนการตลาดและพันธมิตรเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการทำการตลาด ดึงงาน และสร้างงานต่างๆ ในแต่ละอุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐบาล

6. การสนับสนุนในระดับนโยบายจากรัฐบาล เช่น จัดงบประมาณให้กับภาคเอกชนไปดำเนินการจัดกิจกรรมการประชุมสัมมนา หรืองานแสดงสินค้า การประกาศให้หน่วยงานภาครัฐจัดการประชุมสัมมนา หรือการผ่อนคลายมาตรการด้านการจัดซื้อจัดจ้างของทางภาครัฐ เพื่อผู้ประกอบการรายย่อยจะได้มีโอกาสในการจ้างงานมากขึ้น โดยทีเส็บเป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อเสนอต่างๆ เพื่อนำเสนอกับรัฐบาลตามลำดับขั้นตอนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564

บริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล จำกัด และ บริษัท เค พีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ จำกัด จัดพิธีบวงสรวงโรงงาน เคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ เพื่อความเป็นสิริมงคล

บริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล จำกัด และ บริษัท เค

พีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ จำกัด จัดพิธีบวงสรวงโรงงาน เคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ เพื่อความเป็นสิริมงคล





คุณกฤติยาณี พรมแพง และ นายพัฒพงศ์  พงศ์พาพัฒน์ สองผู้บริหารบริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล จำกัด (KPPM GLOBAL COMPANY) และ บริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ จำกัด  (KPPM GLOBAL RUBBER COMPANY)  พร้อมด้วยผู้บริหารบริษัท ได้แก่  นายไสว ณ นคร รองกรรมการผู้จัดการ นายทวีศักดิ์ สุขศรีนวล Gerneral Manerger บริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล จำกัด นายสมโภชน์ ตั้งสิริโรจน์สกุล คุณปิยะฉัตร ตรอยธนะวัฒนา และพนักงานบริษัท ร่วมในพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพ เทวดา ฟ้า ดิน เอาฤกษ์ เอาชัย เปิดฤกษ์โรงงาน เนื่องในโอกาสปรับปรุงซ่อมแซมโรงงานบริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ จำกัด ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เพื่อให้การปรับปรุงซ่อมแซมโรงงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บริษัทและพนักงาน โดยมีพราหมณ์พฏประวีณ์ พุทธิพโล จากสำนักพิธีกรรมโหรพราหมณ์พฏประวีณ์ พุทธิพโล เป็นผู้ประกอบพิธี




            คุณกฤติยาณี พรมแพง และ นายพัฒพงศ์  พงศ์พาพัฒน์ สองผู้บริหารบริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล จำกัด (KPPM GLOBAL COMPANY) และ บริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ จำกัด  (KPPM GLOBAL RUBBER COMPANY) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพ เทวดา ฟ้า ดิน เอาฤกษ์ เอาชัย เปิดฤกษ์โรงงาน เนื่องในโอกาสปรับปรุงซ่อมแซมโรงงานบริษัท เคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ จำกัด ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ซึงถือเป็นฤกษ์งามยามดี  




โดยเลข 9 หมายถึง 9 แรกของปี ขอให้เป็น 9 ที่มีแต่ความสุข ขอให้เป็น 9 ที่สมหวัง ขอให้เป็น 9 ที่เจอแต่สิ่งดีๆในชีวิต วันนี้จะทำอะไรขอให้มี 9 แสน คือ.แสนเฮง แสนเจริญ แสนมั่งมี.แสนสุข แสนสดชื่น แสนสมหวัง แสนโชคดี แสนร่ำรวย และแสนปลอดภัย ขอให้โรงงานเคพีพีเอ็ม โกลบอล รับเบอร์ กิจการงานราบรื่น สำเร็จดังหวังทุกประการ เพื่อให้การปรับปรุงซ่อมแซมโรงงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บริษัทและพนักงาน

 

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง "ซับน้ำตาชาวใต้" 8 จังหวัดภาคใต้

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง "ซับน้ำตาชาวใต้" 8 จังหวัดภาคใต้ จัดงบกว่า 15.5 ล้านบาท ฟื้นฟูหลังน้ำลดผู้ประสบอุทกภัย  แจกจ่ายเครื...